ประวัติขององค์กร



  บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด ( มหาชน )
     เดิมบริษัท ทศท. คอร์ปปอเรชั่น จำกัด ( มหาชน ) ซึ่งเมื่อก่อน ก็คือ องค์การโทรศัพท์ แห่งประเทศไทยนั่นเองซึ่ง เป็นหนึ่งในรัฐวิสาหกิจในประเทศไทย ก่อนที่จะกลายมาเป็น ทศท. คอร์ปปอเรชั่น ได้นั้นตามมติของคณะรัฐมนตรี ในปี2545 ซึ่งมีประวัติพอสังเขปดังนี้ ไปจนถึงเรื่องราวของต้นกำเนิดของโทรศัพท์ในอดีตว่ามีความเป็นมาอย่างไร บ้าง...
    
ประวัติการจัดตั้งองค์การโทรศัพท์ฯ และการดำเนินงานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

2424 โทรศัพท์ในไทยครั้งแรก
โทรศัพท์เข้าสู่ประเทศไทย ครั้งแรกตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยกรมกลาโหมนำเครื่องโทรศัพท์มาติดตั้ง เพื่อใช้แจ้งข่าว
เรือเข้า - ออก ระหว่างปากน้ำสมุทรปราการกับกรุงเทพฯ

2429 เริ่มมีผู้เช่าประมาณ 60 ราย
กรมไปรษณีย์โทรเลขได้รับโอนกิจการจาก กรมกลาโหมมาดำเนินการและขยายกิจการต่อไป
โดยที่ประชาชนทั่วไปเริ่มมีโอกาสใช้โทรศัพท์เป็นครั้งแรก เป็นโทรศัพท์ระบบแม๊กนิโต
(MAGNETO SYSTEM)หรือระบบไฟประจำเครื่อง (LOCAL BATTERY : LB) มีผู้เช่าทั้งสิ้น
ประมาณ 60 ราย ระยะทางสายยาวเพียง 86 กิโลเมตร ซึ่งใช้ติดต่อกันมาถึงกว่า 20 ปี

2450 ตั้งชุมสายโทรศัพท์แห่งแรก
ติดตั้งระบบโทรศัพท์ไฟกลางใช้พนักงานต่อ (CENTRAL BATTERY : CB) ชุมสายโทรศัพท์
ระบบแรกที่ถูกผลิตขึ้นมาเป็นชุมสายกึ่งอัตโนมัติ การติดต่อต้องผ่านพนักงานผู้ซึ่งทำหน้าที่
ต่อสายระหว่างผู้เช่าทั้ง 2 ทาง โดยติดตั้งที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ

2465 เพิ่มชุมสายโทรศัพท์แห่งที่สอง
กิจการโทรศัพท์เจริญก้าวหน้ามากขึ้น มีการติดตั้งโทรศัพท์กลางขนาด 900 เลขหมาย ที่บริเวณ
ไปรษณีย์กลาง ต.บางรัก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้นเรียก “โทรศัพท์กลางบางรัก”

2470 วางเคเบิลเชื่อมต่อวัดเลียบ-บางรัก
ผู้เช่าเพิ่มจำนวนเป็น 1,422 เครื่อง จึงต้องเพิ่มโทรศัพท์กลางวัดเลียบบางรักขึ้นอีกแห่ง และ
ในปีนี้ได้ทำการวางสายเคเบิลใต้ดินเชื่อมระหว่างโทรศัพท์กลางทั้ง 2 แห่ง

2471 ให้บริการโทรศัพท์ทางไกล
บริการโทรศัพท์ได้ขยายขอบข่ายครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ ธนบุรี และยังสามารถใช้ติดต่อกับ
จ.สมุทรปราการ นนทบุรี และนครปฐม

2478 เริ่มใช้ชุมสายระบบ STEP BY STEP
กระทรวง พาณิชย์และคมนาคม โดยพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้สั่งซื้อเครื่องชุมสายโทรศัพท์ระบบอัตโนมัติ STEP-BY-STEP จากประเทศอังกฤษ เป็นชุมสายโทรศัพท์ระบบแรกที่ผู้เช่าสามารถหมุนหน้าปัดถึงกันได้โดยตรง ทำการติดตั้งที่โทรศัพท์กลางวัดเลียบ 2,300 เลขหมาย และโทรศัพท์กลางบางรัก 1,200 เลขหมาย เปิดบริการครั้งแรกเมื่อ 24กันยายน 2480 และเพิ่มชุมสายโทรศัพท์กลางขึ้น 2 แห่ง คือ ชุมสายเพลินจิต และ ชุมสายสามเสน2480 ติดตั้งใช้ชุมสายอัตโนมัติครั้งแรก

เวลา 0.01 น. ของวันที่ 26 กันยายน 2480 ได้มีการตัดเปลี่ยนเลขหมาย และเปิดใช้ชุมสายอัตโนมัติเป็น
ครั้งแรก เปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์เป็นหน้าปัดแบบหมุน กำหนดเลขหมาย 5 ตัวให้กับผู้เช่าให้สามารถ
หมุนตัวเลขบนหน้าปัด ติดต่อถึงกันได้เองโดยไม่ต้องผ่านพนักงานต่อสาย

2497 สถาปนาเป็นองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
24 กุมภาพันธ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการให้ตรา
พระ ราชบัญญัติจัดตั้งองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคมโดยแยกจากกองช่างโทรศัพท์ กรมไปรษณีย์โทรเลข ให้บริการโทรศัพท์ในเขตนครหลวงประกอบด้วยชุมสายวัดเลียบ ชุมสายบางรัก ชุมสายเพลินจิตและชุมสายสามเสนพนักงาน 732 คนทรัพย์สิน 50 ล้านบาท
2502 เริ่มใช้ชุมสายครอสบาร์
สั่งซื้อชุมสายอัตโนมัติระบบ CROSS BAR จากสวีเดน มาติดตั้งครั้งแรกในไทย ที่ชุมสายชลบุรี
1,000 เลขหมาย

2503 รับโอนโทรศัพท์ในภูมิภาค

รับโอนโทรศัพท์ในส่วนภูมิภาคจากกรมไปรษณีย์โทรเลข ครั้งแรก 10 ชุมสาย จำนวนเลขหมาย
ประมาณ 1,600 เลขหมาย และครั้งที่ 2 จำนวน 37 ชุมสาย จำนวน 8,100 เลขหมาย2507 ติดตั้งชุมสายครอสบาร์ในนครหลวง และรับโอนโทรศัพท์ทางไกล
นำชุมสาย CROSS BAR มาติดตั้งที่ชุมสายชัยพฤกษ์เป็นแห่งแรก และที่ชุมสายทุ่งมหาเมฆ
อีก 4,000 เลขหมาย
รับโอนชุมสายโทรศัพท์ในภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากกระทรวง
คมนาคม จนปี 2512 จึงรับโอนชุมสายโทรศัพท์จากภาคเหนือ และภาคใต้ มาอยู่ในความ
รับผิดชอบครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

2517 เปลี่ยนเลขหมายเป็น 6 หลัก
22 มิถุนายน ดำเนินการตัดเปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์ (CUT OVER) ในชุมสายระบบ CROSS BARจาก 5 ตัว เป็นเลขหมาย 6 ตัว ยกเว้นชุมสาย STEP-BY-STEP 3 ชุมสาย คือ บางรัก ,พหลโยธิน และสามเสน จำนวน 20,000 เลขหมาย

2518 ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ
เปิด ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติโดยไม่ต้องใช้พนักงานต่อระหว่าง เชียงใหม่ - กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก เมื่อเวลา 09.05 น.ของวันที่ 1 กันยายน 2518
2519 เปลี่ยนใช้เลขหมายโทรศัพท์ 7 ตัว ในนครหลวง
24 เมษายน ตัดเปลี่ยนเลขหมายโทรศัพท์ในเขตนครหลวง จาก 5 ตัว และ 6 ตัว เป็นเลขหมาย 7 ตัวทั้งหมดและในเขตโทรศัพท์ภูมิภาค เปลี่ยนเป็นเลข 6 ตัว ทุกชุมสาย
2520 เริ่มใช้เครื่องโทรศัพท์แบบกดปุ่มนำเครื่องโทรศัพท์ชนิดกดปุ่ม มาเปิดให้บริการครั้งแรกในเขตนครหลวง

2521 ให้บริการโทรศัพท์ไร้สาย
นำ บริการโทรศัพท์ไร้สาย (MULTI ACCESS RADIO TELEPHONE) มาให้บริการแก่ผู้อยู่นอกพื้นที่ข่ายสายโทรศัพท์ทั่วประเทศ โดยให้บริการในรัศมี 30 กิโลเมตร รอบชุมสายที่ติดตั้งสถานีฐาน
2522 เปิดบริการโทรศัพท์สาธารณะ
แบบ ไม่มีผู้ดูแลนำโทรศัพท์สาธารณะแบบผู้ใช้หยอดเหรียญ (BOOTH) และไม่มีผู้ดูแล มาติดตั้งในเขตโทรศัพท์นครหลวง 100 เครื่อง และเปิดใช้โทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติทางเดียว แห่งที่ 2 กรุงเทพฯ – พัทยา
2523 ให้บริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติ
เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติทั่วประเทศ พร้อมยกเลิกชุมสายระบบพนักงานต่อทุกแห่ง

2525 ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลอัตโนมัติ
เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลสาธารณะอัตโนมัติ 20 แห่ง ในเขตโทรศัพท์นครหลวง เป็นครั้งแรก

2526 เปิดใช้ชุมสายโทรศัพท์ระบบ เอส พี ซี
นำ ชุมสายโทรศัพท์ระบบ SPC (STORED PROGRAM CONTROL) มาใช้ครั้งแรกที่ชุมสายภูเก็ตเปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติระหว่างไทย – มาเลเซีย

2527 ให้บริการโทรศัพท์ต่างประเทศระบบอัตโนมัติ
เปิดให้บริการโทรศัพท์ทางไกลอัตโนมัติระหว่างประเทศครั้งแรก สำหรับผู้เช่าในเขตกรุงเทพฯ

2529 เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
นำบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ NMT (NORDIC MOBILE TELEPHONE) 470 MHz มาเปิด
ให้ บริการโดยใช้ร่วมกับโครงข่าย SPC ปรับปรุงระบบค้นหาเลขหมาย 13 และ 183 จากการเปิดสมุดโทรศัพท์เป็นการใช้คอมพิวเตอร์(COMPUTERIZED DIRECTORY ASSISTANCE SYSTEM : CDAS) ซึ่งใช้เวลาเพียง 30 วินาทีต่อการ ค้นหา 1 เลขหมายเท่านั้น

2530 ผู้เช่าซื้อเครื่องโทรศัพท์ได้เอง
เปิด โอกาสให้ผู้เช่าซื้อเครื่องโทรศัพท์ใช้เอง โดยต้องผ่านการรับรองคุณภาพจาก ทศท.และยังให้ผู้เช่าเดินสายโทรศัพท์ภายในอาคารได้เองด้วยเปิดให้บริการ โทรศัพท์สาธารณะยกเว้นค่าใช้จ่าย ติดตั้งที่ท่าอากาศยานกรุงเทพเพื่อบริการข้อมูลท่องเที่ยวแก่ชาวต่างชาติ

2531 ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะถึง 1 ล้านเลขหมาย
เปิด ให้บริการพิเศษ SPC อันประกอบด้วย บริการเปลี่ยนเรียกเลขหมาย , บริการเรียกซ้ำอัตโนมัติ,บริการเลขหมายด่วน , บริการรับสายเรียกซ้อน , บริการเลขหมายย่อ และบริการประชุมทางโทรศัพท์เปิดศูนย์บริการรับร้องเรียนเรื่องโทรศัพท์ ด้วยหมายเลข 189 ภายใน ทศท. เพลินจิต ให้บริการ
ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

เปิดรับชำระค่าบริการโทรศัพท์ด้วยวิธีหักบัญชีเงินฝากผ่านธนาคาร

เปิดวงจรเคเบิลใต้น้ำ เพื่อให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างไทย - มาเลเซีย เส้นทาง ชุมพร -
กวนตัน โดยความร่วมมือระหว่าง ทศท. กับ โทรคมนาคมมาเลเซีย

2532 เชื่อมโยงเครือข่ายด้วยเคเบิลใยแก้ว และไมโครเวฟ

ดำเนินการเชื่อมโยงเครือข่ายโทรคมนาคมกับประเทศมาเลเซีย ด้วยระบบเคเบิลใยแก้วนำแสง
และระบบวิทยุไมโครเวฟ
ขยายบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระยะที่ 1 ให้ครอบคลุมพื้นที่เศรษฐกิจในอนาคต
เปิดรับชำระค่าบริการโทรศัพท์ผ่านเครื่อง ATM
เปิดบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สาธารณะบนรถไฟ
ดำเนินการปรับเปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์สาธารณะที่โทรได้เฉพาะในท้องถิ่นให้สามารถใช้
โทรทางไกลในประเทศอัตโนมัติได้

2533 ให้บริการหลากหลายรูปแบบ
เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลฟรี 088 (TOLL FREE CALL 088 )
 เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลระบบดาต้าเน็ต (DATANET)
เปิดให้บริการโทรศัพท์ติดตามตัว (PAGING) โฟนลิงค์ และเพจโฟน
นำเครื่องโทรศัพท์สาธารณะชนิดใช้เหรียญได้หลายขนาด สำหรับให้บริการโทรศัพท์ภายใน
ท้องถิ่น,โทรศัพท์ทางไกลต่างจังหวัด รวมทั้ง โทรศัพท์ทางไกลไปประเทศมาเลเซีย
เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบความถี่ 900 MHz

2534 สู่เทคโนโลยีนำสมัย

เปิดให้สัมปทานโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้บัตร (CARDPHONE) ในเขตนครหลวง

เปิดบริการโทรศัพท์พกพา (TELEPOINT)

ติดตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน เพื่อใช้เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมสำรอง
เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลเพื่อธุรกิจผ่านดาวเทียม (ISBN) เพื่อรับ – ส่งข้อมูลระหว่าง
คอมพิวเตอร์ โทรสาร โทรศัพท์ และอื่น ๆ

วาง ระบบเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้น้ำในอ่าวไทย ระยะทาง 1,300 กิโลเมตร ใช้เป็นโครงข่ายพัฒนาระบบโทรคมนาคม การติดต่อสื่อสารทางภาคใต้ของประเทศ

เปิดโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงตามเส้นทางรถไฟสายหลักของประเทศ 3 สาย คือ สายเหนือ
สายตะวันออกเฉียงเหนือ และสายใต้ รองรับความต้องการใช้โทรศัพท์ทางไกลในเขตภูมิภาคและนครหลวง

เปิดบริการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (TELECONFERENCE)

2535 ขยายบริการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย
เปิดรับชำระค่าบริการโทรศัพท์ด้วยบัตรเครคิต โพธิ์เงิน-โพธิ์ทอง ธนาคารไทยพาณิชย์
ขยายบริการโครงการโทรศัพท์ 3 ล้านเลขหมาย สำหรับเขตนครหลวง 2 ล้านเลขหมาย และ
ภูมิภาค 1 ล้านเลขหมาย

เปิดให้บริการวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่เฉพาะกลุ่มธุรกิจ (TRUNK MOBILE RADIO)

2536 ความก้าวหน้าของบริการ และโครงการใหญ่
ติด ตั้งโทรศัพท์ในโครงการ โทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบท ซึ่งกำหนดติดตั้งกว่า 7,000 ตำบลทั่วประเทศเปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลต่างประเทศชนิดหยอดเหรียญ [INTERNATIONAL SUBSCRIBER DIALING COIN PHONE : ISD]

เปิดให้บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตัล (ISDN)

เปิดบริการระบบข้อมูลธุรกิจ (VIDEOTEX)

เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สาธารณะแบบใช้บัตรบนรถโดยสารปรับอากาศรุ่นใหม่
(ใช้ก๊าซธรรมชาติ NGV) โดยต่อเชื่อมโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 470 MHz เข้ากับ Card Phone

2537 ปีส่งเสริมคุณภาพบริการ

เปิดให้บริการโทรศัพท์ในโครงการพัฒนากิจการโทรคมนาคมในพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ แหลมฉบัง จ.ชลบุรี และมาบตาพุต จ.ระยอง (TELEPORT)
เปิดบริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศอัตโนมัติ ไทย - ลาว ด้วยรหัส 007-856 + รหัสเมือง/
รหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ + เลขหมายปลายทาง
ทดลองเปิดให้บริการ “ วิดีสาร ” (VIDEOTEX) อย่างเป็นทางการร่วมกับ บริษัท ไลน์เทคโนโลยี
(ไทยแลนด์) จำกัด
เปิดให้บริการโทรศัพท์ติดตามตัวรายที่ 3 ในชื่อ “WORLD PAGE”
ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะทางไกลต่างประเทศ
เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบทด้วยระบบดาวเทียม

2538 ส่งเสริมคุณภาพบริการปีที่สอง

ร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ระหว่าง
มกราคม 2538 - ธันวาคม 2539 ได้แก่โครงการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลชนบท โครงการบัตร
โทรศัพท์เฉลิมพระเกียรติ โครงการโทรศัพท์สาธารณะ กิจกรรมสารคดีชุดตามรอยพระยุคลบาท
แต่งตั้งบริษัทเอกชนที่ปรึกษา ทำการศึกษาข้อมูลจัดตั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์ชุมสายโทรศัพท์ และอุปกรณ์โทรคมนาคมภายในประเทศ
จัดตั้ง องค์กรโทรคมนาคมภาคพื้นเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (seatel) เพื่อเสริมสร้างธุรกิจด้าน
โทรคมนาคม
ลด อัตราค่าเช่าเลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 470 MHz จากอัตรา 500 บาท/เลขหมาย/เดือน เป็น450บาท/ เลขหมาย/เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2538

เช่าใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมไทยคม เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายบริการต่างๆของ ทศท.
จัดวางเคเบิลใยแก้วนำแสง ส่งสัญญาณโทรทัศน์จากโรงเรียนวังไกลกังวล อ.หัวหิน
จ. ประจวบคีรีขันธ์ ไปยังสถานีดาวเทียมไทยคม จ.นนทบุรี เพื่อลดช่องว่างทางการศึกษาและพัฒนาเยาวชน
นำเทคโนโลยีการสร้างข่ายสาย “ไมโครทันเนลลิ่ง” หรือ ระบบอุโมงค์แนวนอนขนาดเล็กสำหรับ
วางสายเคเบิลใต้ดินช่วยลดปัญหาการจราจร
เร่งขยายบริการโดยการติดตั้งชุมสายโทรศัพท์ระบบ SPC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพบริการ

ลดค่าบริการโทรศัพท์ติดตามตัวในเครือข่าย ลง 27 เปอร์เซ็นต์ ทั้งค่าเปิดเครื่อง และค่าบริการ
รายเดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 เป็นต้นไป

ให้บริการชำระค่าเช่า - ใช้โทรศัพท์โดยหักบัญชีเงินฝากทั่วประเทศ

จัด ทำโครงการขยายบริการโทรศัพท์ 1.9 ล้านเลขหมาย เพื่อให้มี จำนวน 10 เลขหมาย ต่อประชากร100 คน โดยให้บริษัท เทเลคอมเอเซีย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินการขยาย 6 แสนเลขหมายในเขตนครหลวงและให้บริษัท ไทยเทเลโฟน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ดำเนินการขยาย 5 แสนเลขหมายในเขตภูมิภาค และ ทศท. ดำเนินการเอง 8 แสนเลขหมาย เพื่อขจัดความขาดแคลนโทรศัพท์ระยะสั้น พ.ศ. 2538 – 2541

2539 22 เมษายน เปิดให้บริการโทรศัพท์รหัสส่วนตัว PIN PHONE 108 ในเขตนครหลวง
ทดลองขยายพื้นที่ให้บริการ PIN PHONE เพิ่มขึ้น 4 จังหวัด คือ นครปฐม ชลบุรี สระบุรี และ
สุพรรณบุรี ตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2539นำเครื่องรับเงินสดอิเล็กทรอนิกส์ ( ELECTRONIC CASH REGISTER : ECR) มาใช้ยังสำนักงานบริการโทรศัพท์ โดยเริ่มทยอยติดตั้งในเขตนครหลวงตั้งแต่เมษายน 2539 และเปิดใช้ทั่วประเทศสิงหาคม 2539
 1 ตุลาคม 2539 เริ่มรับชำระค่าบริการโทรศัพท์ด้วยบัตรเครดิต ณ สำนักงานฯ 25 แห่งในนครหลวงและ15 แห่งในภูมิภาค
2540  ปรับเปลี่ยนโทรศัพท์ระบบครอสบาร์ (แบบหมุน)
ที่ ยังเหลือใช้งานอยู่ เป็นระบบเอสพีซี (แบบกดปุ่ม) ทั้งหมด จำนวนประมาณ 5 แสนเลขหมาย ขยายพื้นที่ให้บริการ PIN PHONE เป็น 11 จังหวัด คือ ระยอง นครนายก นครปฐม ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี อยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา และชลบุรี
จัด ซื้อโทรศัพท์ 500,000 เครื่อง 144 ล้านบาท ตามโครงการเปลี่ยนระบบอนาลอคเป็นดิจิตอล เพื่อปลี่ยนเครื่องโทรศัพท์ให้กับผู้ใช้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ทศท.โดยคัดเลือก ธ.กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) เป็นผู้จัดการกองทุน
2541  มกราคม เปิดให้บริการโฮมคันทรีไดเร็ค
(Home Country Direct : HCDS) ระหว่างไทย และมาเลเซีย ด้วยรหัส1800-8000-66
ธันวาคม เปิดให้บริการโทรศัพท์สาธารณะแบบใช้ TOT CARD ระยะแรกติดตั้งในเขตนครหลวง
และ ภูมิภาคบางส่วน รวมทั้งให้บริการในการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ ครั้ง 13

2542 เปิดให้บริการข้อมูลด้วยเสียงทางโทรศัพท์ (Audiotex)
ด้วยรหัส 1900 XXX XXX กับ บริษัท อินโฟเทล คอมมูนิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (29 เม.ย.), บริษัทไทยออดิโอเท็กซ์ เซอร์วิส จำกัด18 ส.ค.) ,บริษัท สามารถอินโฟมีเดีย จำกัด (29 ส.ค.)
กันยายน เปิดให้บริการโทรฟรีระหว่างประเทศ IFS (International Freephone Service) ด้วยรหัส1800+80+เลขหมาย IFS

19 พฤศจิกายน เปิดให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศอัตโนมัติ ไทย-พม่า ด้วยรหัส
007-95+รหัสเมือง/รหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่+เลขหมายปลายทาง

15 พฤศจิกายน เปิดให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานใช้นอกสถานที่ PCT ร่วมกับ TA อย่างเป็นทางการ

17 ธันวาคม เปิดให้บริการโทรศัพท์ทางไกลระหว่างประเทศอัตโนมัติ ไทย-กัมพูชา ด้วยรหัส
007-855+รหัสเมือง/รหัสโทรศัพท์เคลื่อนที่ + เลขหมายปลายทาง

2543 14 ม.ค.เปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตสาธารณะที่จังหวัดเชียงใหม่เป็นครั้งแรก ในอัตรา ค่าเข้าระบบ ครั้งละ 3 บาท ค่าบริการ 0.50 บาท/นาที ทั่วประเทศ
1 มี.ค.เริ่มคิดอัตราค่าบริการพิเศษ SPC
27 เม.ย. เริ่มใช้อัตราค่าบริการโทรศัพท์พื้นฐานรูปแบบใหม่ 3 รูปแบบ
1 พ.ค. ปรับปรุงอัตราค่าบริการโทรศัพท์สาธารณะทางไกลภายในประเทศ เป็นอัตรา3,6,9,12บาทต่อนาที
1 พ.ค. ลดค่าเช่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 470 MHz จากอัตรา 450 บาท/เดือน เป็นอัตรา 300 บาทต่อเดือน
1 พ.ค. ปรับปรุงอัตราค่าบริการโทรศัพท์ PIN PHONE 108 โทรในท้องถิ่น 3 นาที/ บาท
โทรทางไกลภายในประเทศ อัตรา 3,6,9,12 บาท/นาที
1 ส.ค. เปิดให้บริการ Free Phone Service บริการโทรฟรี ที่ผู้ขอใช้บริการ/ผู้รับปลายทางเป็น
ผู้รับภาระค่าโทรศัพท์ และบริการ UAN : UNIVERSAL ACCESS NUMBER SERVICEเลขหมาย
เดียวทั่วประเทศ เป็น 2 ใน 7 บริการ ผ่านโครงข่าย IN : INTELLIGENT NETWORK

1 ส.ค. ปรับปรุงรูปแบบใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี รูปแบบใหม่ ในเขตนครหลวงและปริมณฑล
 ส.ค. เปิดบริการโฮมคันทรีไดเร็ค โทรจากประเทศไทยไปมาเลซีย (1800-0060-99 ,
1800-0060-88) โทรไปสิงค์โปร์ (1800-0065-99) โทรไปไต้หวัน (1800-0886-10)

12 ตุลาคม เปิดให้บริการโทรศัพท์ทางไกลราคาประหยัด Y-tel 1234

ต.ค. ปรับปรุงใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ในเขตโทรศัพท์ภาคตะวันออก

1 พ.ย. เปิดให้บริการข้อมูลด้วยเสียงทางโทรศัพท์ (Audiotex) ด้วยรหัส 1900-XXX-XXX กับ
บริษัท เทเลเวิลด์ เซอร์วิส จำกัด

พ.ย. เปิดใช้เลขหมาย 1120–abc (ตามด้วยเลข 3 ตัวแรก) ให้คำแนะนำการใช้บริการต่างๆ โดย
ไม่เสียค่าใช้จ่าย

ธ.ค. ขยายการให้บริการโฮมคันทรีไดเร็ค จากประเทศไทยไปสหรัฐอเมริกา ด้วยรหัส
(1800-0001-20) และญี่ปุ่น ด้วยรหัส (1800-0081-10)

1 ธ.ค.43 ทศท.รับบริการเวิลด์เพจ (World page) 141, 142 ,143 มาดำเนินการเอง

2544  5 ก.ค. เพิ่มเลขหมายโทรศัพท์ทั่วประเทศ (Numbering Plan)
จาก เลขหมาย 7 หลัก เป็นเลขหมาย8 หลัก (กดรหัสพื้นที่ตามด้วยหมายเลขเดิม) พร้อมเปลี่ยนหมายเลข แจ้งเหตุเสียจาก 17 เป็น“1177” ก.ค. เปิดให้บริการ โฮมคันทรีไดเร็ค (HCDS) จากประเทศไทยไปประเทศเกาหลี ด้วยรหัส(1800-0082-20)

20 ก.ค. เปิดให้บริการ Family Card หรือบริการบัตรรหัสโทรศัพท์สำหรับผู้ต้องขัง
1 ส.ค. เปิดให้ชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร 4 ธนาคารทุกสาขาทั่วประเทศ คือ ธ.ศรีนคร , ธ.ดีบีเอส ไทยทนุ , ธ.ยูโอบี รัตนสิน , ธ.ไทยธนาคาร
1 ก.ย. เปิดให้บริการ Call Center 1100
25 ต.ค. ร่วมกับกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย เปิดให้บริการ อินเทอร์เน็ต อบต. ผ่าน
หมายเลข “1299”
17 พ.ย. ยกเลิกข้อกำหนดเกี่ยวกับเงินประกันประกันในบริการโทรคมนาคม

2545 
1 ม.ค. เปิดให้บริการ TOT online “1222” ในอัตรา 3 บาท ทั่วประเทศ
6 ก.พ. เปิดให้บริการ e-learning การเรียนการสอนทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ต
25 มี.ค. เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ไทย-โมบาย 1900 MHz เป็นการดำเนินการร่วมระหว่าง
กสท. และ ทศท
17 พ.ค. ให้บริการอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมระหว่างกรมอุตุนิยมวิทยากับ ทศท
29 พ.ค. PIN Phone 108 สามารถใช้บริการ AUDIOTEX ได้
31 ก.ค. แปลงสภาพเป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน (TOT Corporation Public
Company Limited)

9 ส.ค. เปิดให้บริการ TOT POSTPAID บริการบัตรรหัสโทรศัพท์ และบริการ PRIVATE NET
บริการโครงข่ายเฉพาะกลุ่ม บนโครงข่าย IN

12 ก.ย. เปิดให้บริการ BOARDBAND-ISDN บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
27 พ.ย. เปิดตัวบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1900 MHz ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ
21 ธ.ค. เปิดให้บริการ I – BOX 1278 บริการรับฝากข้อความเสียง และข้อมูลทางโทรศัพท์พื้นฐาน
 ธ.ค. เปิดให้บริการชำระค่าบริการโทรศัพท์ผ่านระบบ e – Commerce ทาง totweb.net
2546 
29 ม.ค. ประกาศใช้โครงสร้างส่วนงานบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

17 มี.ค. จัดตั้ง TOT Shop เป็นแห่งแรก ณ ศูนย์การค้าแอร์พอร์ตพลาซ่า จ.เชียงใหม่

1 ส.ค. จัดสรรพนักงานลงโครงสร้างส่วนงานใหม่ จำนวน 68 ฝ่าย

6 ก.ย. เปิดร้าน TNET เป็นแห่งแรก และภายในร้านมีการให้บริการ TOT Shop ภายใน
ห้างสรรพสินค้า The Mall จ.นครราชสีมา

1 ก.ย. ลดค่าโทรศัพท์ทางไกลภายในประเทศ โดยมีอัตราค่าบริการให้เลือก 3 รูปแบบ ทดลอง
ใช้งาน 3 เดือน
2547 
4 ก.พ. เปิดให้บริการโครงการการให้บริการระบบเครือข่ายสำหรับ Electronic Draff Capture
(EDC Network Pool) ภายใต้ชื่อการค้า “EDC Pool”
31 มี.ค. คณะกรรมการ บมจ.ทศท มีมติเห็นชอบ “การจัดส่วนงานและการบริหารส่วนงาน
พ.ศ.2547” ให้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ และถ่ายโอนงานไปยังโครงสร้างใหม่ ภายในวันที่ 30
เมษายน 2547
1 ก.ค. ถ่ายโอนพนักงานไปยังโครงสร้างใหม่ จำนวน 16 ด้าน 1 สำนัก
1 ก.ค. เปิดบริการโทรต่างประเทศผ่านรหัส 007 นาทีละ 9 บาท 9 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา
ญี่ปุ่น อังกฤษ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เยอรมัน และสิงคโปร์
30 ส.ค. เปิดให้บริการชำระค่าใช้บริการโทรศัพท์ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคารอาคารสงเคราะห์
ทั่วประเทศ คิดอัตราค่าบริการ 10 บาท / 1 ใบแจ้งหนี้
20 ต.ค.47 เปิดบริการโทรทางไกลระหว่างประเทศผ่านรหัส 007 ครอบคลุม 212 ประเทศทั่วโลก
อัตรา ค่าบริการ 9 – 45 บาท / นาที และบริการโทรทางไกลระหว่างประเทศผ่านรหัส008 ครอบคลุม151 ประเทศทั่วโลก อัตราค่าบริการ 6 – 32 บาท / นาที
29 ต.ค.47 เปิดให้บริการร้าน TNET สาขาเพลินจิต
15 พ.ย.47 บมจ.ทศท ร่วมกับ ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มีเดีย เปิดให้บริการรับชำระค่าบริการ
รายเดือน โทรศัพท์เคลื่อนที่ HUTCH ได้ที่ ศูนย์บริการลูกค้า ทศท ในเขตนครหลวง โดยไม่เสีย
ค่าธรรมเนียม

21 พ.ย.47 เปิดให้บริการร้าน TNET จ.ขอนแก่น

15 ธ.ค.47 เปิดให้บริการร้าน TNET จ.ภูเก็ต
22 ธ.ค.47 เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (TNET) ที่ทำการไปรษณีย์ราชดำเนิน

2548 
4 ม.ค.48 เปิดบริการชำระค่าบริการสินเชื่อ (Easy Buy) ผ่านศูนย์บริการลูกค้า ทศท ในเขต
นครหลวง
26 ม.ค.48 ร่วมกับ 16 หน่วยงาน จัดตั้งเคาน์เตอร์บริการประชาชน (Government Counter
Service :GCS) แห่งแรกที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส หมอชิต
9 ก.พ.48 เปิดร้าน TNET สาขาอุบลราชธานี
14 ก.พ.48 เปิดศูนย์บริการลูกค้า ทศท พร้อมร้าน TNET สาขาคาร์ฟูร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
24 ก.พ.48 เปิดศูนย์บริการลูกค้า ทศท สาขาทุ่งมหาเมฆ ให้บริการครบวงจร One Stop Services)

28 ก.พ.48 ร่วมกับ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามบันทึก
ข้อตกลงโครงการความร่วมมือหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการตลาด แขนงวิชาการ
ตลาดเทคโนโลยีสารสนเทศและการติดต่อสื่อสาร (Master of Science in Marketing : ICT
Marketing)เพื่อผลิตบุคลากรด้านการตลาดไอซีที พร้อมเปิดหลักสูตรในปีการศึกษา
24 มี.ค. 48 ร่วมกับ บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด (เอดีซี) เปิดให้บริการBuddy Broadband บริการความบันเทิงภายในบ้านผ่านเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานบนเทคโนโลยีรอด แบนด์ เป็นครั้งแรกของเมืองไทย

1 เม.ย.48 ศูนย์บริการลูกค้าในเขตนครหลวงและปริมณฑล เปิดรับชำระค่าบริการอินเทอร์เน็ตของบริษัท ซี เอส ล๊อกซอินโฟ จำกัด
1 เม.ย.48 เปิดศูนย์บริการลูกค้า สาขาบางแค
4 เม.ย.48 ร่วมกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ในการติดตั้งและให้บริการเช่าระบบเครือข่ายสื่อสารของการบินไทย ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
 11 เม.ย.48 เริ่มใช้ใบแจ้งค่าใช้บริการรูปแบบใหม่ โดยแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ
1. ใบแจ้งค่าใช้บริการแบบทั่วไป
2. ใบแจ้งค่าใช้บริการแบบหักบัญชีฝากธนาคาร / บัตรเครดิต

9 พ.ค.48 ร่วมกับ กสท โทรคมนาคม กระทรวงเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ และผู้ให้บริการ
โทรศัพท์เคลื่อนที่ ในการจัดระเบียบการใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเติมเงินทั่วประเทศ เพื่อ
ป้องกันและรักษาสวัสดิภาพของประชาชนโดยรวมจาก เหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้

1 ก.ค.48 เปลี่ยนชื่อ เป็น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) พร้อม Re-branding บริษัท สู่รูปลักษณ์ใหม่าพลักษณ์ใหม่ บุคลิกใหม่ และทัศนคติใหม่ พร้อมใช้ LOGO ใหม่

2549 
ม.ค.49 ทีโอที รับรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สาขาวิศวกรรมศาสตร์ เรื่อง “อุปกรณ์จับยึดสายไฟเบอร์อฟติกชนิดแอกแซสเซอร์วิส หรือ OFC CLAMP : OPTIC FIBER CABLE FOR ACCESS
SERVICE” ในการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 43 ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ก.พ.49 ผลงานวิจัยและพัฒนาของสถาบันนวัตกรรม ทีโอที รับรางวัลชมเชยงาน วันนักประดิษฐ์
ประจำปี 2549 ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเรื่องระบบป้องกันฟ้าผ่า
 มี.ค.49 ทีโอที ร่วมจัดกิจกรรมปลูกป่าใน โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ
พระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 ระยะที่ 3 (พ.ศ.2546 – 2550)เฟส 2 จำนวน 7,000 ไร่ ณ แปลงปลูกป่า FPT 57/2 อำเภอภักดีชุมพล
มี.ค.49 ทีโอที รับรางวัล รองชนะเลิศ ปฏิทินชนิดตั้งโต๊ะ ประเภทเทิดพระเกียรติสถาบัน
พระมหากษัตริย์
เม.ย.49 แบรนด์ ทีโอที ครองใจผู้บริโภคเอเชีย รับรางวัล Trusted Brands By Reader’s DigestPlatinum Winner ในงาน Reader’s Digest Asia Trusted Brands 2006
พ.ค.49 โฆษณาของ ทีโอที ชุด โทรให้ถูก โทรทีโอที เรื่อง คิดถึงทุกนาที : บริการโทรศัพท์
สาธารณะ ได้รับรางวัลเหรียญเงิน และ เรื่อง อกหัก : บริการ Y-tel 1234 ได้รับเหรียญทองแดง จากาพยนตร์โฆษณาเดี่ยว ประเภท ธุรกิจบริการจากการประกวดโฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทยรือ TACT Awards ประจำปี 2548 - 2549

ก.ค.49 ทีโอที สนับสนุนถ่ายทอดประชุมทางไกลผ่านดาวเทียม ในกิจกรรมการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ระหว่าง มหาวิทยาลัยโอเรกอน ประเทศสหรัฐอเมริกา-โรงเรียนวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และทีโอที แจ้งวัฒนะ
พ.ย. 49 ทีโอที เปิดสวนเฉลิมพระเกียรติ ในงานมหกรรมพืชสวนโลก ราชพฤกษ์ 2549 ซึ่งตกแต่งภายใต้แนวคิด “ใต้ร่มโพธิ์ ร่มไทร ใต้ร่มพระบารมี” บริเวณโซนสวนองค์กร ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง ต.แม่เหียะ จ.เชียงใหม่