อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงาน


หูโทรศัพท์
ใช้สำหรับทดสอบสัญญาณในระบบโทรศัพท์ เช่น สัญญาณ TONE(DTMF) และ PULSEสามารถบอกเบอร์ได้ว่าขณะนี้สนทนากับคู่สายเบอร์ใหนอยู่,มีปุ่มโทรทวน ซ้ำเลขหมายเดิมได้เพื่อตรวจสอบสามารถบอกได้ว่าสายโทรศัพท์คู่ใหนไม่มี สัญญาณ ,มีปากคีบพิเศษที่ไม่ต้องปอกสายโทรศัพท์เมื่อต้องการทดสอบโดยปากคีม มีลักษณะคล้ายหนามเวลาคีบสาย  หนามบนปากคีบจะเจาะผ่านทลุปลอกหุ้มของสายโทรศัทพ์ลงไปสัมผัสกับผิวทองแดงของ สาย ไม่ต้องเสียเวลาปลอกสาย

 


ADSL Tester
รุ่น Smart5 (TOTผลิตเอง ใช้เฟิร์มแวร์ของ Zyzel)
หรือบางคนก็เรียกง่ายๆว่าโมเท็ค เอาไว้ test สัญญาณ adsl มีหน่วยวัดเป็น dBiสามารถเช็คได้ว่า ได้รับ ip อะไร ใช้ เช็ค data rates ว่าความเร็วที่เช็คได้ตรงกับที่ลูกค้าขอไว้หรือไม่ เช็คค่า Noise Margin สัญญาณรบกวนในสาย ค่าสภาพของสาย ค่าสูญเสียสัญญาณ และระยะทางของสัญญาณที่ส่งมาจากชุมสายจนถึงที่ทำการเช็คได้


มิเตอร์ วัดแรงดันไฟฟ้า
ใช้วัดค่าแรงดันไฟฟ้ากับหมุดหรือคู่สายโทรศัพท์ เพื่อวัดดูสภาพสาย ใช้หาคู่หมุดที่สภาพดี ใช้ในการดูค่าในการลูปสาย





บรรไดไม้ไผ่
บรรไดสุดฮิต บรรไดหรรษา บรรไดยอดนิยมอันดับหนึ่ง ไม่ว่าใครก็ต้องปีน
ใช้เพื่อพาดกับเสาไฟฟ้า กำแพง ผนัง เพื่อปีนไปทำการดูตู้ปลายหรือเดินสายมีตั้งแต่ แบบ 5-11ขั้น ใครกลัวความสูงไม่ควรขึ้น ดูเผินๆอาจคิดว่าไม่สูง พอมองลงมาจากขั้นสุดท้าย คิดถึงพ่อแม่เลย - -"






สาย ดร็อปไวร์ (Drop Wire)
ใช้ในการเดินสายโทรศัพท์ภายนอกอาคาร ทนแดดทนฝน
มี 3 แกน (เส้น) สายนำสัญญาณ ทองแดง 2 เส้น, สายสลิงค์ สำหรับยึดโยงสาย 1 เส้น


คีม
ใช้ในการตัดสายไฟ และใช้ในการลูปหมุด

 ใช้ปากคีมทั้งสองข้างแตะหมุดเพื่อทำการลูป


คีมปอกสายไฟ
ใช้ในการปอกสายโยง และตัดสายโยงที่ ไม่เหมาะกับการใช้ตัดหรือปอกสายไฟใหญ่ๆเช่นสาย ดรอปไวร์



สายโยง
ใช้ในการโยงเบอร์ภายในชุมสาย หรือตู้ผ่าน มี2เส้น สองสีคู่กัน และตีเกรียวกัน







ท่อ 
ท่อธรรมดานี่แหละครับ ใช้ในห้อง MDF ใช้แยงสาย หรือส่งสายข้ามไปอีกฝั่งของแผงและชั้นต่างๆ
โดยเอาสายไฟเสียบไว้ที่ปลายท่อแล้วแทงสอดเข้าไปอีกฝั่งแล้วให้อีกคนที่ทำงานโยงสายอยู่อีกด้านคอยรับ

ด้านปลายท่อจะมีลักษณะอย่างในภาพเพื่อไม่ให้เวลาเเทงสาย จะได้ไม่โดนสายอื่นและทำให้สายขาด



กล่องกันฟ้าผ่า 
FUSELESS TELEPHONE STATION PROTECTORติดไว้กับผนังหน้าตัวอาคาร หน้าบ้าน เป็นต้น ถ้าฟ้าผ่าแรงดันจะไหลข้ามลงสายกราวด์ ลงดิน


สายโทรศัพท์ หรือสายพีวีซี,สายภายใน สำหรับเดินสายภายในอาคาร 



กล่องต่อสายโทรศัพท์  
สำหรับต่อปลายสายโทรศัพท์ ก่อนต่อเข้าตัวเครื่อง กรณีที่ไม่ต่อเข้าปลั๊กโทรศัพท์

สายพ่วงโทรศัพท์ สายต่อเข้าเครื่อง ต่อจากกล่องต่อสายหรือต่อจากปลั๊กโทรศัพท์ เข้าโทรศัพท์



เทปพันสายไฟ 3M 
การใช้งาน ใช้ในการพันสายไฟ พันข้อต่อสายที่ทำการตัด พันสายไฟเพื่อกันน้ำเข้า
วิธีการพัน พันไปดึงไปด้วย (เพื่อให้แน่น), พันไปคลายม้วนเทปไป (ไม่คลายเทปก่อน)



อุปกรณ์เข้าสาย
 แบบสองหัว เข้าสาย และถอนสาย

  แบบถอนสายอย่างเดียว



 ใช้ได้กับขั้วหมุดที่เป็นแบบนี้เท่านั้น

         เมื่อจะทำการเข้าสาย ต้องปอกสายโยงก่อนจากนั้นเอาทองแดงใส่เข้าไปในด้านที่เข้าสาย แล้วเอาปลายไปทึ่มกับขึ้นคู่สายแล้วหมุนไปทางขวา ส่วนด้านถอนสายจะหมุนไปทางซ้ายเพื่อคลายสายออกจากหมุด



 เครื่องมือเข้าสายโทรศัพท์ 
 ใช้สำหรับเข้าสายโทรศัพท์บางรุ่นใช้ได้ทั้งยี่ห้อ โปเย่และโครเน่(บ้างก็เรียกว่า ตัวกระแทก)
 โดนวิธีใช้ ต้องนำสายโยงมาวางหรือกดลงบนช่องหมุดของโครเน่แล้วกระแทกทับสายโยงลงไปตรงๆ
 ถ้าไม่ตรงบาร์อาจจะเสียได้เลย บางรุ่นจะมีตัวเกี่ยวสายด้านข้างด้วยใช้สำหรับเกี่ยวสายโยงที่กระแทกไป ในโครเน่แล้วออกมา

 
แผงโครเน่



อุปกรณ์เสียบฟังสัญญาณ dial 
หรือเสียบโทรไว้คุย หรือโทรได้ ต้องใช้หูโทรศัพท์เกี่ยวกับปลายของอุปกรณ์นี้ทั้งสองข้างด้วย หรือจะใช้กับ ADSL tester ก็ได้


ส่วนอีกตัวก็ทำหน้าที่คล้ายๆกันเพียงแต่ไม่ได้ใช้กับโครเน่ครับ
จะใช้กับหมุดแบบภาพด้านบนครับ




อุปกรณ์เข้าหัวสายแลน และสายโทรศัพท์
ใช้ในการเข้าหัวสาย และตัดสาย และและโทรศัพท์ กรณีหัวสายที่เครื่องลูกค้ามีปัญหา เราก็จะทำการตัดแล้วเปลี่ยนหัวให้ใหม่เลยครับ



ฟิวส์
เอาไว้ใส่กับช่อง tie กับเลยหมาย เพื่อกันไฟฟ้าลง ไฟฟ้าเข้า เมื่อเวลามีฟ้าผ่า 
ในฝั่ง tie นั้นฟิวส์จะเป็นสีน้ำตาลครับ ถ้าไม่ได้ใส่ฟิวส์ หรือ ฟิวไม่แน่น ฟิวส์เอียง ก็จะเกิดปัญหากับผู้ใช้หรือลูกค้าได้
บางครั้งปัญหาก็เกิดมาจากฟิวส์นี้ตัวเดียวได้เหมือนกันครับ บางทีคนโยงลืมใส่ฟิวส์ หรือ มีคนเดินชนฟิวส์เอียง ก็มีปัญหาแล้ว ช่างก็แก้กันที่บ้านลูกค้าแทบตาย แต่คช่างข้างในเดินชนฟิวส์ หรือลืมใส่ฟิวส์


เมื่อถอดออกมาก็จะเป็นแบบในภาพครับ


ตู้คอดิน หรือ ตู้ผ่าน
พบเห็นได้ตามรึมทางทั่วไป ข้างตู้จะมีรหัสตู้ รหัสเขตที่รับผิดชอบตู้อยู่ เช่นของเขตทุ่งมหาเมฆ ก็จะเขียนว่า TOT TMM เป็นต้น  ตู้นี้เป็นตู้พักสัญญาณโทรศัพท์ สัญญาณโทรศัพท์นั้นจะถูกส่งมาจากห้อง MDF ของเราก่อนแล้วจึงจะมาเข้ายังตู้นี้ครับ ซึ่งจาก MDF จะผ่านเคเบิลใต้ดินมาเข้ายังใต้ตู้นี้อีกที ภายในตู้จะมีคู่หมุดหมายเลขอยู่ภายใน ซึ่งในการโยงสายภายในตู้นี้จะต้องทำการโยงต้นออกปลายครับ ซึ่งก็คือ ต้นคือหมุดที่รับสัญญาณมาจาก MDF เราต้องโยงออกปลาย เพื่อให้สัญญาณไปต่อยังตู้ผ่านและเข้าบ้านลูกค้า ดังรูปด้านล่างที่ฝาตู้ด้านขวามือจะมีเลขกำกับอยู่ครับว่า แถวไหนคือต้นหรือปลาย ส่วนมากเค้าจะเรียงกันแบบ ปลาย-ต้น ปลายต้น ไล่ลงด้านล่างเรื่อยๆครับ ในรูปนี้ P ก็คือต้น S ก็คือปลายครับ ส่วนเลขหลัง ตัวอักษรนี้จะเป็นเลขของเส้นเคเบิลครับ

 ด้านบนเป็นตู้ผ่านแบบใหม่ครับ


แบบนี้เป็นตู้แบบเก่าครับ

ภาพหมุดคู่สายภาพในตู้ผ่าน แบบรุ่นเก่า

ตู้ผ่านที่แบบเก่ากว่าจะโยงเบอร์ได้แต่ละเบอร์ต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะต้องทำการไขคู่หัวหมุดออกมาก่อนเราจึงจะสามารถนำสายโยงทำการไขเพื่อใส่ สายเข้าไปที่หัวหมุดได้ โดย 1 เบอร์นั้น ต้องทำการไขหัวหมุดทั้งหมด 2คู่หมุด คือ คู่ต้น และ คู่ปลาย เท่ากับ 4 หัวหมุด

โดยคู่ต้นนั้นโยงเพื่อต่อสัญญาณที่ส่งมาจาก MDF มายังตู้ ให้เชื่อมต่อกับ คู่ปลาย เพื่อไปต่อยังตู้ผ่าน และเข้าบ้านลูกค้าต่อไป

การนับคู่หมุดภายในตู้ผ่านนั้น โดยส่วนมากจะมีเลขบอกกำกับอยู่ครับ แต่ถ้าไม่มีเราก็ต้องนับให้ได้ครับ
รูปด้านล่างนี้จะเป็นแผงย่อย ภายใน 1 แถว วิธีนับคู่หมุดจะนับจากบนลงล่างครับ


 รูปด้านล่างจะเป็นตัวอย่างแผงภายในตู้ผ่านครับ โดยหนึ่งแถวจะประกอบด้วย แผงย่อย ซึ่งมี จำนวน 25 หมุด 4 แผง วึ่งรวมกันจะได้ 100 คู่ ดังรูปด้านล่างครับ




ตู้พัก หรือ ตู้ปลาย
มีหน้าที่ในการพักสัญญาณก่อนเข้าไปยังบ้านลูกค้า  จะเห็นได้ตามเสาไฟฟ้าทั่วไปครับ โดยปกติจะมีแบบขนาดเล้กข้างในจะมี 11 คู่หมุด ส่วนอีกแบบจะมี 26 หมุดครับ  สัญญาณ dial ที่ส่งมาจากตู้ผ่านจะมายังตู้นี้ก่อนเข้าไปยังบ้านลุกค้าครับ โดยฝากล่องนั้นจะมีเลขเส้นเคเบิ้ล และเลขหมุดระบุำไว้อยู่ครับ